วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

คำสั่ง

ให้นักศึกษา เลือกหัวข้อที่ต้องการศึกษาในด้านขวามือของเว็ป ในเครื่องมือในการวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพของแบบสังเกตุ

          การสังเกตมีการใช้กันมากในการศึกษาเหตุการณ์ ปรากฏการณ์ พฤติกรรม และสภาพทาง
กายภาพที่ปรากฏ เมื่อผู้วิจัยทำการสังเกตจึงควรมีแบบสังเกตหรือแบบบันทึกข้อมูลจากการสังเกต
ซึ่งจัดเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลประเภทหนึ่ง ในกรณีที่พัฒนาสิ่งประดิษฐ์แบบสังเกต
หรือแบบบันทึกข้อมูล อาจทำหน้าที่ในการบันทึกข้อมูลจากการสังเกตหรือวัด ซึ่งอาจมีเครื่องมือ
อื่นใช้ประกอบกันโดยเป็นเครื่องมือที่ทำหน้าที่วัดค่าตัวแปรและบันทึกค่าตัวแปรลงในแบบสังเกต
หรือแบบบันทึกข้อมูลเช่น ถ้าต้องการแสดงว่าสิ่งประดิษฐ์ใหม่ทำงานได้เร็ว ในแบบสังเกตหรือ
แบบบันทึกข้อมูล อาจเป็นการบันทึกระยะเวลาในการทำงานของสิ่งประดิษฐ์ใหม่เมื่อทำงาน 1 ชิ้น
สำเร็จ โดยอาจต้องบันทึกข้อมูลหลายครั้ง ในการบันทึกแต่ละครั้งต้องใช้นาฬิกาจับเวลาเป็น
เครื่องมืออีกชิ้นหนึ่งใช้วัดค่าตัวแปรระยะเวลา เป็นต้น การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดเช่น
นาฬิกา เทอร์โมมิเตอร์ หรืออื่น ๆ ให้พิจารณาจากแนวทางการตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบ ไม่
ว่าจะเป็นแบบสังเกตที่เป็นแบบบันทึกข้อมูล หรือแบบสังเกตที่ใช้สังเกตพฤติกรรมตลอดจนสภาพ
ที่ปรากฏโดยทั่วไปนิยมตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหา หลักการหรือแนวคิดทฤษฎี รวมทั้งให้
ครอบคลุมสิ่งที่จะศึกษาโดยอาศัยความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ อาจนำแบบสังเกตไปทดลองสังเกตก่อน
นำไปใช้จริงเพื่อมาปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาพเป็นจริง ในกรณีของความเชื่อมั่น สามารถ
ดำเนินการควบคู่ไปกับการเก็บรวบรวมข้อมูล การแสดงว่าสิ่งที่สังเกตหรือข้อมูลจากการสังเกต
น่าเชื่อถือ อาจกระทำโดยสังเกตหรือวัดตัวแปรนั้นหลายครั้ง (สมคิด, 2538: 35) ถ้าเป็นพฤติกรรมก็
สังเกตพฤติกรรมเดียวกันแต่หลายช่วงเวลา อีกวิธีการหนึ่งเป็นการสังเกตพฤติกรรมเดียวของบุคคล
ใดบุคคลหนึ่ง โดยผู้สังเกตหลายคนแล้วนำข้อมูลมาพิจารณาความสอดคล้อง
(พิตร, 2544 :226 - 227)
          สำหรับเครื่องมือที่ในการรวบรวมประเภทอื่นนั้น ให้พิจารณาเทียบเคียงกับแบบที่นำเสนอ
มา เช่น ถ้ามีคำตอบที่ถูก หรือมีทิศทางการให้คะแนน หรือเป็นแบบประเมินผลงานให้พิจารณา
ดำเนินการในทำนองเดียวกับการตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบ ถ้ารวบรวมข้อมูลโดยการเขียน
หรือตอบโดยผู้ให้ข้อมูล และไม่มีคำตอบใดที่ ถือเป็นคำตอบที่ถูก ควรพิจารณาดำเนินการ
ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ในทำนองเดียวกับการตรวจสอบคุณภาพของ
แบบสอบถาม ถ้ารวบรวมข้อมูลด้วยคำพูดหรือวาจา ก็อาจตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล
โดยกระบวนการทำนองเดียวกับการตรวจสอบคุณภาพของแบบสัมภาษณ์ และถ้า
เป็นการรวบรวมข้อมูลโดยอาศัยการมอง การดู หรือการเห็น สามารถตรวจสอบคุณภาพของ
เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการทำนองเดียวกันกับการตรวจสอบคุณภาพของแบบสังเกตุ
          การเลือกใช้เครื่องมือหรือพัฒนาเครื่องมือควรตรวจสอบ ความเที่ยงตรงเป็นอย่างน้อย
เพราะเป็นการสนับสนุนว่าเครื่องมือที่ใช้นี้วัดในสิ่งที่ต้องการจะวัดไม่ว่าคำตอบหรือค่าที่วัดจะเป็น
คุณลักษณะหรือปริมาณก็ตาม ในประเด็นอื่น ๆ นั้น พิจารณาตามความจำเป็น

เอกสารอ้างอิง

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา
          สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2547 วิจัยแผ่นเดียว : เส้นทางสู่คุณภาพ การ
          อาชีวศึกษา ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ : สำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา สำนักงาน
          คณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
ปัญญา ธีระวิทยเลิศ. 2548. การวิเคราะห์แบบสอบถามรายข้อ. วารสารสมาคมนักวิจัย. 10(2):42 –
          44.
พิตร ทองชั้น. 2544. การวางแผนการวิจัยและการรวบรวมข้อมูล. ในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมา
          ธิราช บัณฑิตศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์. ประมวลสาระชุดวิชาการวิจัยและการพัฒนา
          การศึกษานอกระบบ. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สมคิด พรมจุ้ย. 2538. ชุดวิชาทางการศึกษานอกโรงเรียน เล่มที่ 10 การเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการ
          วิจัย. กรุงเทพฯ : กรมการศึกษานอกโรงเรียน.
Babbie, E. 1998. The Practice of Social Research Belmont : Wadsworth Publishing Company.
Blaxter, L.,C. Hughes, and M. Tight. 1996. How To Research. Buckingham : Open University
          press.
Hakim, C. 1982. Secondary Analysis in Social Research : A Guide to Data Scores and
          Methodswith Examples. London ; George Allen X Unwin.