แนวทางในการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล

          ในการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือนั้นดำเนินการก่อนที่จะนำเครื่องมือไปเก็บรวบรวม
ข้อมูล การตรวจสอบอาจทำได้ 2 แนวทางได้แก่
          1. แนวทางที่อาศัยเหตุผล เป็นการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยอาศัยเหตุผล
ก่อนที่จะนำเครื่องมือไปใช้จริง โดยทั่วไปแล้วอาศัยทฤษฎีหรือหลักเกณฑ์หรือความเห็นของ
ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่จะวัดหรือศึกษา ถ้าผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นหรือตัดสินว่าถูกต้องเหมาะสม หรือ
ตรงตามทฤษฏี ก็นำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลได้ในกรณีที่เป็นแบบทดสอบหรือแบบวัด นอกจาก
ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาที่จะทำการตรวจสอบแล้ว อาจมีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคหรือวิธีการทดสอบ
หรือวัด เพื่อพิจารณาว่าเครื่องมือนั้นเหมาะสมกับกลุ่มที่จะไปทดสอบหรือวัดหรือไม่ เช่น ข้อ
คำถามชัดเจนหรือไม่ เหมาะสมกับระดับหรือกลุ่มคนที่จะนำไปใช้วัดหรือไม่
          2. แนวทางที่อาศัยวิธีการทางสถิติ เป็นการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยอาศัย ค่า
ตัวเลขหรือค่าสถิติต่าง ๆ วิธีการนี้ต้องนำเครื่องมือไปทดลองใช้ แล้วนำมาคำนวณค่าต่าง ๆเทียบกับ
เกณฑ์การยอมรับ ถ้าอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ก็นำไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูลได้แต่ถ้าไม่อยู่ในเกณฑ์
การยอมรับควรนำมาปรับปรุงและทดสอบ ในบางเทคนิคอาจพิจารณาค่าสถิติจากความคิดเห็นของ
ผู้เชี่ยวชาญก็ได้ เช่นพิจารณาจากค่าความสอดคล้อง เป็นต้น เครื่องมือที่ใช้วัดความยาวของวัตถุ ถ้า
วัดความยาวของวัตถุชิ้นหนึ่งหลายๆ ครั้ง ได้ความยาวคงเดิมเสมอหรือไม่แตกต่างหรือคลาดเคลื่อน
ไปบ้างโดยที่ความคลาดเคลื่อนนั้นอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ เช่น ไม่เกินร้อยละ 5 ก็อาจสรุปว่า
เครื่องมือนั้นเหมาะสม เป็นต้น