การตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถาม

          แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัยที่ใช้มากในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคคลโดยเฉพาะ
ความรู้สึกหรือความคิดเห็น (Blaxter, Hughes and Tight, 1996 : 159) ลักษณะสำคัญของ
แบบสอบถามคือไม่มีคำตอบที่ถือว่าผิด มักสร้างขึ้นเพื่อใชเ้ ฉพาะกรณีหรือเฉพาะเรื่อง
การตรวจสอบคุณภาพพิจารณาตามความจำเป็น ที่นิยมกันเป็นการตรวจสอบความเที่ยงตรงและความ
เชื่อมั่น
          การตรวจสอบความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม โดยทั่วไปดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญ
ตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมของเนื้อหา ข้อคำถามครอบคลุมครบถ้วนตามทฤษฎีหรือแนวคิด
และครบถ้วนตามวัตถุประสงค์หรือปัญหาของการวิจัย( สมคิด, 2538, 34) บางกรณีอาจมีผู้เชี่ยวชาญ
ทางด้านเทคนิคการสร้างแบบสอบถามเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของรูปแบบคำถามและการจัดข้อ
คำถาม ถ้าเป็นไปได้ควรทำการวิเคราะห์แบบสอบถามเป็นรายข้อ (ปัญญา, 2548 : 42 -44) ควรมีการ
ทดลองนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างก่อนนำไปใช้จริงก็จะดียิ่งขึ้น เพราะเป็นการตรวจสอบอีกว่าภาษาที่
ใช้ในข้อคำถามนั้นสื่อความหมายได้ตรงกัน
          การตรวจสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เปน็ การหาความสอดคล้องภายในโดย
พยายามอธิบายว่าข้อคำถามแต่ละข้อในข้อคำถามชุดหนึ่งนั้นเป็นเรื่องเดียวกันหรือทิศทางเดียวกัน
ในกรณีที่ข้อคำถามเป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า นิยมใช้สัมประสิทธิแอลฟา ( ∝ - Coefficient)
เพื่อหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม (พิตร, 2544 : 225) นอกจากนี้แล้วอาจหาความเชื่อมั่นด้วย
การสอบซ้ำก็ได้ (สมคิด , 2538 : 34) ถ้าต้องการแสดงว่าใช้วัดกี่ครั้งก็ให้ผลคงที่